บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เค้าโครงวิทยานิพนธ์บทที่1 เรื่อง การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


เค้าโครงวิทยานิพนธ์ บทที่ 1


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขอบเขตของการวิจัย
1.  ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
1.1  ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชายหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในเขตพื้นที่ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 150 คน
1.2  กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชายหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดบางทีง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน1 ห้อง มีนักเรียน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาในส่วนของทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 ในส่วนของสาระการเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ ด้านประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการระบุจำนวน (Number) การนับ (Counting) การเปรียบเทียบ (Comparing) การจัดเรียงลำดับ (Ordering) และการระบุรูปทรง (Shape)
3. ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ด้านด้วยกันคือ
                3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
สมมติฐานในการวิจัย
ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนใช้
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.  ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน หมายถึง  ความสามารถที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกเป็น 5 ด้านดังนี้
                                1.1 การระบุจำนวน (Number) หมายถึง ความสามารถในการบอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ ที่ครูกำหนดให้ได้ถูกต้อง
                                1.2 การนับ (Counting) หมายถึง ความสามรถในการนับเลข 1-30
                                1.3 การเปรียบเทียบ (Comparing) หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบขนาดของสิ่งต่างๆ เช่น เล็ก-ใหญ่, สูง-ต่ำ, ดำ-ขาว, หนัก-เบา, มากกว่า-น้อยกว่า
                                1.4 การจัดเรียงลำดับ (Ordering) หมายถึง ความสามรถในการเรียงลำดับ มากไปน้อย หรือน้อยไปมาก เป็นต้น
1.5 การระบุรูปทรง (Shape) หมายถึง ความสามารถในการสังเกต จำแนก รูปร่าง ของรูปทรง ว่าเป็นรูปทรงประเภทใดได้อย่างถูกต้อง
2.  วิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้โดยอาศัยการใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทำให้เด็กมีความสนใจและเข้าใจคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
                                2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ในขั้นนี้ครู
เป็นผู้สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน โดยใช้สื่อ เหตุการณ์ หรือ คำถามในการกระตุ้น
นักเรียน เชื่อมโยงความรู้เดิมหรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยนำไปสู่เรื่องที่จะศึกษา
2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (explore) ขั้นนี้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลองคิดเชื่อมโยงความ
สัมพันธ์ของประสบการณ์เดิมและความรู้ใหม่ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นๆ กิจกรรมเน้นการลงมือปฏิบัติและให้กระบวนการคิด (hand on, mind on) ครูทำหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก ส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกคิด สังเกต โดยครูไม่ควรอธิบายหรือบอกคำตอบให้นักเรียน ในขั้นตอนนี้ครูให้เพื่อเป็นการนำไปสู่ประสบการณ์บางอย่างที่ได้จัดเตรียมไว้ให้นักเรียน
                                3. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป (explain) ขั้นนี้เป็นขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากขั้นของการสำรวจ ครูกระตุ้นและเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายแนวคิดที่ค้นพบโดยใช้ข้อมูลจากการทดลองประสบการณ์เดิมมาอภิปราย โดยครูกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำอธิบายการให้นิยามการอธิบายกระตุ้นให้นักเรียนรับฟังความคิดเห็นและประเมินความคิดของเพื่อนคนอื่น ๆ
                                4. ขั้นขยายความรู้ (elaborate) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์ หรือเหตุการณ์อื่น ในขั้นนี้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงข้อสรุปเพื่อให้เกิดแนวคิดและครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนปรับแนวคิดของนักเรียนในกรณีที่คลาดเคลื่อนไปจากที่ควรเป็น เป็นขั้นที่นำข้อมูลจากการทดลองและนำเข้าสู่ข้อสรุปเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น
                                5. ขั้นประเมิน (evaluate) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่า นักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ขั้นตอนนี้ครูใช้คำถามหรือแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนเกิดแนวคิดที่ต้องการหรือไม่
3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อที่นำมาใช้เพื่อฝึกทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานให้กับเด็กปฐมวัย