Monday, December 20, 2010

สื่อการสอน คณิตศาสตร์ เที่ยวสวนสัตว์

Math Love

โปรแกรมช่วยสอนระดับชัั้น อนุบาล 2

โปรแกรมช่วยสอนระดับชั้น อนุบาล 3

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

นิทานคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

สื่อมัลติมีเดีย ม.5/7

MV เพลงทำดีได้ดี DOCTORKIDZ Vol.2

TD1

นับเลข

Razr iBoard - ระบบคอมพิวเตอร์ - CWS Project-UP

คณิตศาสตร์

Monday, November 22, 2010

ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา

 ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดใหม่ ๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน
  
                ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
               1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
   2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
   นอกจากน ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
   1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
   2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
   3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
   4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
   5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
                    บรุนเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องมือในการขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง(DiscoveryLearning)เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุนเนอร์ ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
               1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและครูผู้สอนทั้งหลายจะต้องยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ
   2. จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้นตอน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดมโนคติได้ดีที่สุด
   3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสติปัญหาเช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น
   4. การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก
    การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
                  การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
    
           1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
   2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
   3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
   4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
             จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันการจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
   
การแสวงหาแนวทางใหม่
ๆ ในการเรียนการสอน
                   การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู) ได้เสนอความรู้ ความคิดนวัตกรรมการศึกษาด้วยหลักการ  4  อย่าง  ดังนี้  

   1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ หมายถึงให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการกระทำ
       ความรู้เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนได้ทดลอง ได้ปฏิบัติ ได้สังเกตจากของจริง ได้ทำงานร่วมกันได้ทำงานด้วยตนเองทำให้ได้ความรู้จริง หรือความจริงสูงสุดถึงประสบการณ์ชีวิตจริงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ใช้สื่อการสอน (Instructional Aids) หรือ โสตทัศนวัสดุ(Audiovisual Material) เพราะนักเรียนมีมาก วิทยากรต่าง ๆ ก้าวหน้าและมีมาก ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                    การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ครูลดบทบาทผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง ให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียนด้วยกิจกรรม นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ไม่ใช่ครูเป็นผู้บงการ

   2. การนำและการผลิตสื่อการสอนมาใช้ในห้องเรียน  เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถได้พัฒนาความแตกต่างของบุคคล และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือ   ได้เรียนเต็มกำลังความสามารถและเกิดความพึงพอใจและช่วยให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิผล คือได้ผลตามความมุ่งหมาย
   3. การบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ คือ นวัตกรรมการศึกษาได้แก่การนำแนวความคิดและวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนางานด้านการศึกษาในโรงเรียน เช่นพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้มีความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาการจัดระบบการสอนช่วยลดปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน มีการเตรียมแผนงาน โครงการ มีการบริหารงานตามจุดประสงค์ มีการติดตามและประเมินผลงาน และมีการปรับปรุงพัฒนางาน โดยสมาชิกของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
              นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการจัดการศึกษาเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน การจัดสภาพแวดล้อมช่วยในการศึกษา ตลอดจนการวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอน
                  4. การวัดและประเมินผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เป็น นวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล เป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง มีกระบวนการและวิธีการที่ได้พิสูจน์แล้ว ว่ากระทำอย่างใด จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ สามารถวัดและประเมินสิ่งที่ต้องการได้ อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

อ้างอิงจาก :


สุรางค์ โค้วตระกูล.(2550).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ยุพดี ธรรมชาติ,ผศ.ธันยา สุคนธ์ และ ผศ.วาสนา จันทรัตน์.จิตวิทยาการเรียนการสอนและการแนะแนว.โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
รศ.ดร.พรรณี ช.เจนจิต.(2545).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม

Sunday, November 21, 2010

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ จอง พีอาเจต์

                จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ตังแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรา รวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการ ความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็นจิตวิทยาเด็กจิตวิทยาวัยรุ่น และจิตวิทยาวัยผู้ใหญ่
ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์               
             เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่ จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว(Adaptation) ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้
1. การจัดและรวบรวม (Oganization) หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆภายใน เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ แและมีการปรับปรุงเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่ ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
2.1   การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)  เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2.2    การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)   หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา               
เพียเจต์ยังกล่าวอีกว่าว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่ง ลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดังนี้
                1. ขั้นใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (sensorimotor period) อายุ 0- 2 ปีเป็นขั้นพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาก่อนระยะเวลาที่เด็กจะพูดเป็นภาษาได้การแสดงถึงความคิดและสติปัญญาของเด็กวัยนี้จะเป็นในลักษณะของการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การดูด การมอง การไขว่คว้ามีพฤติกรรมน้อยมากที่แสดงออกถึงความเข้าใจ เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้ตัวตนของเด็กยังไม่ได้พัฒนาจนกว่าเด็กจะได้รับประสบการณ์ ทำให้ได้พัฒนาตัวตนขึ้นมาแล้วเด็กจึงสามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้จนกระทั่งเด็กอายุประมาณ 18 เดือน จึงจะเริ่มแก้ปัญหาด้วยตนเองได้บ้างและรับรู้เท่าที่สายตามองเห็น        
                2. ขั้นเริ่มมีความคิดความเข้าใจ (
pre-operational period) อายุ 2-7 ปีเด็กวัยนี้เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล ยังไม่สามารถใช้สติปัญญากระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเต็มที่ ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้เหตุผล อย่างลึกซึ้งได้วัยนี้เริ่มเรียนรู้การใช้ภาษา และสามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ พัฒนาการวัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ขั้นคือ

                               2.1 ขั้นกำหนดความคิดไว้ล่วงหน้า (
preconceptual thought) อายุ 2-4 ปีระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาด้านการใช้ภาษา รู้จักใช้คำสัมพันธ์กับสิ่งของ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้แต่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีเหตุผล คิดเอาแต่ใจตัวเอง อยู่ในโลกแห่งจินตนาการชอบเล่นบทบาทสมมติตามจินตนาการของตนเอง
                                2.2 ขั้นคิดเอาเอง (intuitive thought) อายุ 4-7 ปี ระยะนี้เด็กสามารถคิดอย่างมีเหตุผลขึ้นแต่การคิดยังเป็นลักษณะการรับรู้มากกว่าความเข้าใจ จะมีพัฒนาการรับรู้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้เป็นหมวดหมู่ ทั้งที่มีลักษณะคล้ายคลึงและแตกต่างกัน ลักษณะพิเศษของวัยนี้คือเชื่อตัวเองโดยไม่ยอมเปลี่ยนความคิด หรือเชื่อในเรื่องการทรงภาวะเดิมของวัตถุ (conservation) ซึ่งเพียเจท์เรียกว่าprinciple of invaiance     
                3. ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (concrete operational period ) อายุ 7-11ปี ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาอย่างรวดเร็วสามารถคิดอย่างมีเหตุผลแบ่งแยกสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ลำดับขั้น จัดเรียงขนาดสิ่งของ และเริ่มเข้าใจเรื่องการคงสภาพเดิมสามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ในอดีตมาแก้ปัญหาเหตุการณ์ใหม่ ๆ ได้ มีการถ่ายโยงการเรียนรู้(transferoflearning)แต่ปัญหาหรือเหตุการณ์นั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมส่วนปัญหาที่เป็นนามธรรมนั้นเด็กยังไม่สามารถแก้ได้

                4. ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม (
formal operational period) อายุ 11-15 ปี ขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดความคิดแบบเด็ก ๆ จะสิ้นสุดลงจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่สามารถคิดแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรมด้วยวิธีการหลากหลาย รู้จักคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์สามารถตั้งสมมติฐานทดลองใช้เหตุผลและทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาอย่างสลับซับซ้อนได้ เพียเจท์กล่าวว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมนักจิตวิทยาเชื่อว่าการพัฒนาความเข้าใจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา
                และเพียเจท์เชื่อว่าพัฒนาการของเชาวน์ปัญญามนุษย์จะดำเนินไปเป็นลำดับขั้น เปลี่ยนแปลงหรือข้ามขั้นไม่ได้



อ้างอิงจาก :



ศรีเรือน แก้วกังวาล.(2549).จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย:ทารก-วัยเด็กตอนกลาง(เล่ม 1).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุรางค์ โค้วตระกูล.(2550).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ยุพดี ธรรมชาติ,ผศ.ธันยา สุคนธ์ และ ผศ.วาสนา จันทรัตน์.จิตวิทยาการเรียนการสอนและการแนะแนว.โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Tuesday, November 9, 2010

จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน


      

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา




จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านจิตวิทยา

ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านจิตวิทยา






มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐานวิชาชีพครู



Monday, October 18, 2010

การสอนแบบ : โครงงาน

การสอนแบบ : โครงงาน



การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น วิ ช า ภ า ษ า ไ ท ย แ บ บ โ ค ร ง ง า น



การสอนแบบ"การเรียนรู้พหุปัญญา โดยคละชั้น"

การสอนแบบ"การเรียนรู้พหุปัญญา โดยคละชั้น

"การสอนแบบ"การเรียนรู้พหุปัญญา โดยคละชั้น"

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ ครูต้นแบบ กลุ่มสาระสุขศึกษาพละศึกษา

การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ ครูต้นแบบ กลุ่มสาระสุขศึกษาพละศึกษา

Sunday, October 17, 2010

การจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฏีพหุปัญญา


ทฤษฎีพหุปัญญา

รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระศิลปะ

รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระศิลปะ

รูปแบบการเรียนรู้ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

เริ่มเรียนรู้ Blogger

กำลังทดลองใช้  Blogger