Monday, November 22, 2010

ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา

 ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดใหม่ ๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน
  
                ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
               1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
   2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
   นอกจากน ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
   1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
   2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
   3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
   4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
   5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
                    บรุนเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องมือในการขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง(DiscoveryLearning)เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุนเนอร์ ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
               1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและครูผู้สอนทั้งหลายจะต้องยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ
   2. จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้นตอน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดมโนคติได้ดีที่สุด
   3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสติปัญหาเช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น
   4. การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก
    การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
                  การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
    
           1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
   2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
   3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
   4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
             จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันการจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
   
การแสวงหาแนวทางใหม่
ๆ ในการเรียนการสอน
                   การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู) ได้เสนอความรู้ ความคิดนวัตกรรมการศึกษาด้วยหลักการ  4  อย่าง  ดังนี้  

   1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ หมายถึงให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการกระทำ
       ความรู้เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนได้ทดลอง ได้ปฏิบัติ ได้สังเกตจากของจริง ได้ทำงานร่วมกันได้ทำงานด้วยตนเองทำให้ได้ความรู้จริง หรือความจริงสูงสุดถึงประสบการณ์ชีวิตจริงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ใช้สื่อการสอน (Instructional Aids) หรือ โสตทัศนวัสดุ(Audiovisual Material) เพราะนักเรียนมีมาก วิทยากรต่าง ๆ ก้าวหน้าและมีมาก ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                    การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ครูลดบทบาทผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง ให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียนด้วยกิจกรรม นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ไม่ใช่ครูเป็นผู้บงการ

   2. การนำและการผลิตสื่อการสอนมาใช้ในห้องเรียน  เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถได้พัฒนาความแตกต่างของบุคคล และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือ   ได้เรียนเต็มกำลังความสามารถและเกิดความพึงพอใจและช่วยให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิผล คือได้ผลตามความมุ่งหมาย
   3. การบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ คือ นวัตกรรมการศึกษาได้แก่การนำแนวความคิดและวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนางานด้านการศึกษาในโรงเรียน เช่นพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้มีความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาการจัดระบบการสอนช่วยลดปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน มีการเตรียมแผนงาน โครงการ มีการบริหารงานตามจุดประสงค์ มีการติดตามและประเมินผลงาน และมีการปรับปรุงพัฒนางาน โดยสมาชิกของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
              นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการจัดการศึกษาเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน การจัดสภาพแวดล้อมช่วยในการศึกษา ตลอดจนการวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอน
                  4. การวัดและประเมินผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เป็น นวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล เป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง มีกระบวนการและวิธีการที่ได้พิสูจน์แล้ว ว่ากระทำอย่างใด จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ สามารถวัดและประเมินสิ่งที่ต้องการได้ อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

อ้างอิงจาก :


สุรางค์ โค้วตระกูล.(2550).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ยุพดี ธรรมชาติ,ผศ.ธันยา สุคนธ์ และ ผศ.วาสนา จันทรัตน์.จิตวิทยาการเรียนการสอนและการแนะแนว.โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
รศ.ดร.พรรณี ช.เจนจิต.(2545).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม

Sunday, November 21, 2010

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ จอง พีอาเจต์

                จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ตังแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรา รวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการ ความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็นจิตวิทยาเด็กจิตวิทยาวัยรุ่น และจิตวิทยาวัยผู้ใหญ่
ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์               
             เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่ จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว(Adaptation) ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้
1. การจัดและรวบรวม (Oganization) หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆภายใน เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ แและมีการปรับปรุงเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่ ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
2.1   การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)  เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2.2    การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)   หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา               
เพียเจต์ยังกล่าวอีกว่าว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่ง ลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดังนี้
                1. ขั้นใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (sensorimotor period) อายุ 0- 2 ปีเป็นขั้นพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาก่อนระยะเวลาที่เด็กจะพูดเป็นภาษาได้การแสดงถึงความคิดและสติปัญญาของเด็กวัยนี้จะเป็นในลักษณะของการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การดูด การมอง การไขว่คว้ามีพฤติกรรมน้อยมากที่แสดงออกถึงความเข้าใจ เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้ตัวตนของเด็กยังไม่ได้พัฒนาจนกว่าเด็กจะได้รับประสบการณ์ ทำให้ได้พัฒนาตัวตนขึ้นมาแล้วเด็กจึงสามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้จนกระทั่งเด็กอายุประมาณ 18 เดือน จึงจะเริ่มแก้ปัญหาด้วยตนเองได้บ้างและรับรู้เท่าที่สายตามองเห็น        
                2. ขั้นเริ่มมีความคิดความเข้าใจ (
pre-operational period) อายุ 2-7 ปีเด็กวัยนี้เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล ยังไม่สามารถใช้สติปัญญากระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเต็มที่ ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้เหตุผล อย่างลึกซึ้งได้วัยนี้เริ่มเรียนรู้การใช้ภาษา และสามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ พัฒนาการวัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ขั้นคือ

                               2.1 ขั้นกำหนดความคิดไว้ล่วงหน้า (
preconceptual thought) อายุ 2-4 ปีระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาด้านการใช้ภาษา รู้จักใช้คำสัมพันธ์กับสิ่งของ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้แต่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีเหตุผล คิดเอาแต่ใจตัวเอง อยู่ในโลกแห่งจินตนาการชอบเล่นบทบาทสมมติตามจินตนาการของตนเอง
                                2.2 ขั้นคิดเอาเอง (intuitive thought) อายุ 4-7 ปี ระยะนี้เด็กสามารถคิดอย่างมีเหตุผลขึ้นแต่การคิดยังเป็นลักษณะการรับรู้มากกว่าความเข้าใจ จะมีพัฒนาการรับรู้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้เป็นหมวดหมู่ ทั้งที่มีลักษณะคล้ายคลึงและแตกต่างกัน ลักษณะพิเศษของวัยนี้คือเชื่อตัวเองโดยไม่ยอมเปลี่ยนความคิด หรือเชื่อในเรื่องการทรงภาวะเดิมของวัตถุ (conservation) ซึ่งเพียเจท์เรียกว่าprinciple of invaiance     
                3. ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (concrete operational period ) อายุ 7-11ปี ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาอย่างรวดเร็วสามารถคิดอย่างมีเหตุผลแบ่งแยกสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ลำดับขั้น จัดเรียงขนาดสิ่งของ และเริ่มเข้าใจเรื่องการคงสภาพเดิมสามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ในอดีตมาแก้ปัญหาเหตุการณ์ใหม่ ๆ ได้ มีการถ่ายโยงการเรียนรู้(transferoflearning)แต่ปัญหาหรือเหตุการณ์นั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมส่วนปัญหาที่เป็นนามธรรมนั้นเด็กยังไม่สามารถแก้ได้

                4. ขั้นใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม (
formal operational period) อายุ 11-15 ปี ขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดความคิดแบบเด็ก ๆ จะสิ้นสุดลงจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่สามารถคิดแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรมด้วยวิธีการหลากหลาย รู้จักคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์สามารถตั้งสมมติฐานทดลองใช้เหตุผลและทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาอย่างสลับซับซ้อนได้ เพียเจท์กล่าวว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมนักจิตวิทยาเชื่อว่าการพัฒนาความเข้าใจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา
                และเพียเจท์เชื่อว่าพัฒนาการของเชาวน์ปัญญามนุษย์จะดำเนินไปเป็นลำดับขั้น เปลี่ยนแปลงหรือข้ามขั้นไม่ได้



อ้างอิงจาก :



ศรีเรือน แก้วกังวาล.(2549).จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย:ทารก-วัยเด็กตอนกลาง(เล่ม 1).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุรางค์ โค้วตระกูล.(2550).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ยุพดี ธรรมชาติ,ผศ.ธันยา สุคนธ์ และ ผศ.วาสนา จันทรัตน์.จิตวิทยาการเรียนการสอนและการแนะแนว.โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Tuesday, November 9, 2010

จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน


      

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา




จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านจิตวิทยา

ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านจิตวิทยา






มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐานวิชาชีพครู